รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธงสมัยรัชกาลที่ 5
ธงเอกชน
ธงราชการ ร.ศ. 129
ธงค้าขาย ร.ศ. 129
      เมื่อมีการชักธง สำหรับพระองค์ขึ้น บนเสาธงในพระบรมมหาราชวัง ก็เป็นเครื่องหมายอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ราษฎรได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ในพระนครหรือไม่  คือถ้าประทับอยู่ก็มีการชักธง ถ้าไม่ได้ประทับอยู่ ก็ไม่ได้ชักธง
      พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ในเวลาที่ไม่ได้ประทับอยู่ ในพระนคร แล้วปล่อยให้เสาธงว่างเปล่านั้น ไม่เป็นการสมควร พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทำธงไอยราพต  อย่างพระราชลัญจกรไอยราพต ประจำแผ่นดินสยาม ขึ้นมาใหม่ สำหรับใช้ชัก ในเวลาพระองค์ไม่ได้ประทับอยู่ในพระนคร
      ส่วนธงแดง ที่เรือค้าขายของราษฎร ใช้กันมาแต่โบราณนั้น พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า เป็นธงที่ใช้ซ้ำกับธงของประเทศอื่น ซึ่งยากที่จะสังเกต พระองค์จึงโปรดฯ ให้ดัดแปลงธงที่ใช้ชักในเรือหลวง คือ ให้ยกรูปจักรออกเสีย คงเหลือแต่รูปช้างเผือก บนพื้นสีแดง สำหรับเป็นธง ให้เรือราษฎรใช้ชัก ส่วนธงที่ใช้ชักในเรือหลวง  โปรดฯ ให้ชักรูปช้างเผือกบนพื้นสีขาว เพื่อให้ต่างกันกับธงที่เรือราษฎรใช้
      ในรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) และลงวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) แต่ต่อมา โปรดฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่อีก ซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก 118 และกำหนดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ร.ศ. 119 เป็นต้นไป
      พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก 118  ได้กำหนดลักษณะธงต่าง ๆ  ขึ้น มีธงมหาราช ธงไอยราพต  ธงราชินี ธงเยาวราช ธงราชวงษ์ ธงเรือหลวง ธงเสนาบดี ธงฉาน ธงหางแซงแซว ธงหางจระเข้ ธงผู้ใหญ่ ธงชาติ ธงนำร่อง เป็นต้น
     สำหรับ ธงมหาราช  มีลักษณะและความหมายดังนี้
      "...ธงมหาราช  พื้นนอกสีแดง ขนาดกว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน พื้นในสีขาว ขนาดกว้าง 3 ส่วน ยาว 4 ส่วน  ที่ในพื้นสีขาวนั้น กลางเป็นรูปโล่ห์ แบ่งเป็น 3 ช่อง  ช่องบนเป็นรูปช้างไอยราพต  อยู่บนพื้นเหลือง บอกนามสยามเหนือสยามใต้ สยามกลาง ช่องล่างข้างขวาแห่งโล่ห์ เป็นรูปช้างเผือกอยู่บนพื้นชมภู หันหน้าออกไปข้างเสา เป็นนามสัญญาแห่งลาวประเทศ  ช่องซ้ายของโล่ห์ เป็นรูปกฤสคต แลตรง 2 อัน ไขว้กันอยู่บนพื้นแดง บอกนามสัญญามลายูประเทศ เบื้องบนแห่งโล่ห์นั้นมีจักรกรีไขว้กัน  แลมีมหาพิไชยมงกุฎ สวมอยู่บนจักรี แลมีเครื่องสูงเจ็ดชั้น สองข้างโล่ห์ มีแทนรองแลเครื่องสูงด้วย  รวมครบเครื่องหมายเหล่านี้ทั้งส้ิน จึงเป็นธงมหาราช  สำหรับพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยกระบวนนั้น ฤๅชักขึ้นในที่แห่งใด ก็เป็นที่หมายว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่นั้น ถ้าประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งฤๅเรือรบแล้ว ต้องชักขึ้นบนเสาใหญ่อยู่เป็นนิตย์"
ส่วน ธงไอยราพต มีลักษณะ "...พื้นสีแดง  มีรูปช้างไอยราพต สามเศียร ทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าไปข้างเสา มีบุษบก ทรงอุณาโลมไว้ภายใน ตั้งอยู่บนหลัง และมีเครื่องสูงเจ็ดชั้นอยู่หน้าหลัง  ข้างละสององค์  ธงนี้ประจำแผ่นดินสยาม สำหรับชักขึ้นในพระนคร เวลาที่พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ประทับอยู่ในพระมหานคร"
งราชินี และธงเยาวราช  มีลักษณะดังนี้
       "ธงราชินี พื้นนอกสีแดง  ขนาดกว้าง 10 ส่วน  ยาว  15  ส่วน  ชายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ 4 แห่งดานยาว พื้นในตัดมุมแฉกเข้ามา  ส่วนหนึ่งนั้นสีขาว  ขนาดกว้าง 6 ส่วน ยาว 8 ส่วน รูปเครื่องหมาย ที่ในพื้นสีขาว ก็เหมือนกับธงมหาราช ธงนี้ เป็นเครื่องหมาย พระองค์สมเด็จพระอรรคมเหษี สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ในเรือพระที่นั่ง อันสมเด็จพระอรรคมเหษี ได้เสด็จ  โดยพระราชอิศริยศ เป็นที่หมายให้ปรากฏว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น