รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

                                                  
ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตของมนุษย์ทุกด้านทั้งด้านความคิด การประดิษฐ์ ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ ความขัดแย้ง ความร่วมมือ ความเสื่อม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนับตั้งแต่มนุษย์ในยุคแรกตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยนับเวลาถอยหลังย้อนไปกว่า 3 ล้านปี จนกระทั่งมนุษย์ได้เริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 5,000 ปีที่ผ่านมา โดยมีมิติของช่วงเวลา และหลักฐานของประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาช่วยในการศึกษาประวัติศาสตร์
เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ มีการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ต่
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย 
                การศึกษาเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีเศษมาแล้ว โดยนักวิชาการชาวตะวันตก ต่อมาได้มีนักวิชาการสาขาต่างๆ ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศได้ศึกษาค้นคว้าต่อมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าได้อาศัยหลักฐานต่างๆ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเครื่องใช้ เอกสารโบราณจีน หลักฐานทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลจากการค้นคว้าปรากฏว่านักวิชาการและผู้สนใจเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยต่างเสนอแนวคิดไว้หลายอย่าง แต่ยังไม่มีแนวคิดใดเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ในระยะแรกๆ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนประเทศจีน ต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นกระจายออกไป และได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังนี้
แนวคิดที่ 1  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนแถบเทือกเขาอัลไต
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน  บริเวณเทือกเขา
อัลไต
1. ดร.วิลเลียม
คลิฟตัน  ดอดด์ : Dr.william  Clifton  Dodd  มิชชันนารี  ชาวอเมริกันได้เข้ามายังเมืองไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วได้เดินทางไปยังประเทศจีน
เชื่อกันว่าพวกมุงเป็นบรรพบุรุษของไทยมีเชื้อสายมองโกล  เป็นชาติที่เก่าแกกว่าชาวฮีบรู  และจีน  เป็นเจ้าของถิ่นเดิมของจีนมาก่อนตั้งแต่ประมาณปีที่  1657  ก่อนพุทธศักราช  ต่อมาได้อพยพจากบริเวณเทือกเขาอัลไต มายังด้านตะวันตกของจีน  แล้วถอยร่นลงมายังบริเวณตอนกลางของจีนมาสู่ตอนใต้ของจีนจนในที่สุดได้มีคนไทยอพยพสู่คาบสมุทรอินโดจีนได้เขียนหนังสือชื่อว่า 
The Thai Race-The Elder Brother of  the Chinese  หลวงแพทย์นิติสรรค์  แปลงเป็นไทยให้ชื่อว่า “ชนชาติไทย”
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
2. ขุนวิจิตรมาตรา
ที่มาภาพ http://www.numtan.com/story_2/picupreply/98-2-1081679827.jpg
 98-2-1081679827
ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขา อัลไต  ได้อพยพลงมาตั้งอาณาจักรนครลุงเป็นครั้งแรก  ต่อมาถูกพวกตาดมองโกลยึดครองจึงอพยพมาอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวนตั้งอาณาจักรใหม่  ชื่อว่า “ปา”  คนไทยเรียกว่า “อ้ายลาว”  หรือ “มุง”  ต่อมานครปาเสียแก่จีน  จึงมาตั้งนครเงี้ยว  “ที่ลุ่มแม่น้ำแองซี  ถูกจีนรุนหลายครั้ง  ในที่สุดชนชาติไทยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนสุวรรณภูมิ2ได้เขียนหนังสือชื่อ
“หลักไทย”
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 1 
                แนวคิดที่ 1  ไม่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์  ในปัจจุบันเนื่องจากมีอุปสรรคในการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานของคนไทย  และไม่น่าจะอยู่ไกลถึงเทือกเขาอัลไต  ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก  นอกจากนั้นการเดินทางลงมาทางใต้ต้องผ่านทะเลทรายโกบี  อันกว้างใหญ่ไพศาล
 
แนวคิดที่ 2  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศบริเวณ
มณฑลเสฉวน
1.แตร์รีออง  เด ลา  คูเปอรี : Terrien de la Couperie ชาวฝรั่งเป็นศาสตร์ทางภาคศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน  ประเทศอังกฤษคนเชื้อชาติไทยเดิมตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรโบราณบริเวณตอนกลางของจีนแถบมณฑลเสฉวนประมาณ
ปีที่ 1765  ก่อนพุทธศักราช  จีนเรียกชนชาติไทยว่า “มุง”  หรือ “ต้ามุง”
ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาติไทย  โดยอาศัยหลักฐานบันทึกของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้เสนอแนวคิดไว้ในงานเขียน  2  ชิ้น  คือ
1. The Cradle of The Siam 
Race
2. The Languages of 
China  Before The
Chinese
d44_adj2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม-พระยา ดำรงราชานุ-ภาพ
ที่มาภาพwww.lib.ru.ac.th/journal/damrong.html
 

ชนชาติไทย  แต่เดิมตั้งบ้านเรื่องอยู่ระหว่างประเทศทิเบตกับจีนประมาณปี พ.ศ.500 ถูกจีนรุนราน  จึงอพยพถอยร่นมาทางตอนใต้ของจีน  และแยกย้ายเข้าไปทางทิศตะวันตกของ
ยูนนานได้แก่  สิบสองจุไทย  ล้านนา
ล้านช้างอยู่ทางตอนกลางของยูนนาน
ได้ทรงแสดงแนวทรรศนะไว้ในพระนิพนธ์  ชื่อ “แสดงบรรยายพงศาวดารสยามและลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ2
แนวคิดที่ 2  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
3. หลวงวิจิตรวาท-การคนไทยเคยอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน  หูเป่ย์  อานฮุย  และเจียงซี  ในตอนกลางของประเทศจีนแล้วได้อพยพมาสู่มณฑลยูนานและแหลมอินโดจีนได้เรียบเรียงหนังสือ ชื่อว่า “งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย”
4. พระบริหารเทพ-ธานีถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศจีน  แล้วถอนร่นมายังบริเวณมณฑลยูนาน และลงมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสนอแนวคิดไว้ในผลงาน “พงศาวดารไทย”
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 2 
ระยะต่อมามีนักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง  เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษาลักษณะเผ่าพันธุ์  จากหลักฐานประเภทจดหมายเหตุจีน  กล่าวถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคนไทย  ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันมากนัก  ดังนั้นแนวคิดนี้จึงไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ
แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์   สุคันธเมศวร์
แนวคิดที่ 3  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน1. อาร์ชิบัลด์  รอสส์ คอลูน : Archibald Ross Colquhoun นักสำรวจชาวอังกฤษเดินทางสำรวจ  โยเริ่มจากกวางตุ้งของจีนถึงเมืองมัณฑะเลย์  ในสหภาพพม่าและรัฐอัสสัมในสาธารณรัฐอินเดียพบกลุ่มชนชาติไทยอาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน  มีภาษาพูดและความเป็นอยู่คล้ายคลึงกันในบริเวณที่ได้เดินทางสำรวจได้เสนอแนวคิดในบทความเรื่อง Across Chryse
2. อี.เอช.ปาร์เกอร์ : E.H.Parker  เป็นชาวอังกฤษเคยเป็นกงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหล่ำในพุทธศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยได้ตั้งอาณาจักรน่าเจ้าที่มณฑลยูนนาน  ต่อมาลูกจีนรุกรานถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของจีนได้เขียนบทความเรื่อง
The old Thai Mmpire 
ในปี พ.ศ.2437  โดยใช้ตำนานของจีนตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
3. ศาสตราจารย์โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด :Wolfram  Eberhard
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเรื่องชนเผ่าไทยเมื่อปี พ.ศ.2491
ชนเผ่าไทยอยู่ในบริเวณมณฑลและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย  แล้วได้สร้างอาณาจักรเทียนที่มณฑลยูนนาน  ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน  ต่อมาสมัยราชวงศ์ถังของจีนชนเผ่าไทยได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้า มณฑล
ยูนนาน
ได้เสนอแนวคิดไว้ในหนังสือชื่อ A History of china

แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
4. เฟรเดอริค โมตะ : Ferderick Mote นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน  ได้ศึกษาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับสมัยน่านเจ้าโบราณพวกที่ปกครองน่านเจ้าคือพวกไป๋  และพวกยี๋  คนไทยที่น่านเจ้าเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง  แต่มิได้อยู่ในชนชั้นปกครองได้ให้ทัศนะไว้ในบทความชื่อ Problems of  Thai  Prehistory : ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์ไทย
5. จิตร ภูมิศักดิ์  มีผลงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยคนไทยอาศัยกระจัดกระจายบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย  ลาว  เขมร  พม่า และรัฐอัสสัมของอินเดียได้เสนอแนวคิดไว้ในงานเขียนชื่อ 1.ความเป็นมาของคำสยามไทย  ลาว  และขอม  2.ลักษณะทางสังคมและยึดชนชั้น
6. ขจร  สุขพานิช
นักประวัติศาสตร์ไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของชนชาติไทย
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้งและกวางสี  ต่อมาได้อพยพลงมาทางตะวันตก  ตั้งแต่ยูนนานและลงมาทางตอนใต้ผ่านผ่านเขตสิบสองจูไทยลงมาที่ประเทศลาวได้เสนอแนวความคิดในเรื่อง “ถิ่นกำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย”
7. พระยาประชากิจกรจักร
(แช่ม  บุนนาค)
ถิ่นกำเนิดเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีนได้ค้นคว้าจากเอกสารทั้งไทยและต่างประเทศ  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2441  ได้เรียบเรียงลงในหนังสือ
วชิรญาณ  เรื่องพงศาวดารโยนก
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 3 
          แนวคิดที่ 3 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป  ในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
 
แนวคิดที่ 4 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย

แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของ
ชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย
1. พอล เบเนดิกต์
(Paul  Benedict) นักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกา
ชนชาติไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันในราว 4,000 – 3,000 ปีมาแล้ว จากนั้นมีพวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันให้คนไทยกระจัดกระจายไปหลายทาง โดยกลุ่มหนึ่งอพยพไปทางตอนใต้ของจีนในปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจึงถอยร่นลงไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย ตังเกี๋ย ดังนั้นจึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์ โดยเชื่อว่า ผู้คนที่อยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนย่อมมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยยอมรับว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ใหญ่ ภาษาหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด
แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กายวิภาคศาสตร์
ดินแดนประเทศไทยน่าจะเป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หนังสือเรื่อง                         “ก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย” โดยศึกษาเปรียบเทียบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินใหม่จำนวน 37 โครงที่คณะสำรวจไทย – เดนมาร์ก   ขุดพบบริเวณแม่น้ำแคว  ในจังหวัดกาญจนบุรี      ผลการศึกษาพบว่า      โครงกระดูกมนุษย์ของ   ยุคหินใหม่ มีลักษณะเหมือนโครงกระดูกของ คนไทยในปัจจุบัน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
3. ศาตราจารย์ชิน อยู่ดี  ผู้เชี่ยวชาญ ทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยพื้นที่ซึ่งเป็นดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันมีร่องรอยของผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุค
หินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ ยุคโลหะและเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เนื่องจากแต่ละ  ยุคได้แสดงความสืบเนื่องทางวัฒนธรรมของคนไทยจนถึงปัจจุบัน เช่น  ประเพณีการ          ฝังศพ  เครื่องใช้เกี่ยวกับการเกษตร
จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีโดยเฉพาะ     ทางโบราณคดีสมัย       ก่อนประวัติศาสตร์
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 4 
เนื่องจากนักวิชาการกลุ่มนี้ มักอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลักในการพิสูจน์แนวคิดของตนเอง ดังนั้นข้อสันนิษฐานของนักวิชาการกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการในปัจจุบันมากนัก แนวคิดนี้ยังต้องอาศัยการค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหาข้อสรุปต่อไป

แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทย 
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์   สุคันธเมศวร์

แนวคิดที่ 5 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู
                      และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย

แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทร
อินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย
นักวิชาการทางการแพทย์โดย นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ
นายแพทย์ประเวศ
วะสี  คณะนักวิจัย ด้านพันธุศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากผลงานการวิจัยทาง     พันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือด ลักษณะและความถี่ของยีน พบว่าหมู่เลือดของ คนไทยมีความคล้ายคลึงกับคนชาวเกาะชวา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้มากกว่าของคนจีนที่อยู่ทางตอนเหนือรวมทั้ง ลักษณะความถี่ของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีน
ก็มีความแตกต่างกันและ    จากผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี ของนายแพทย์ประเวศ วะสี พบว่า ฮีโมโกลบิน อี พบมากในผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือไทย เขมร มอญ ปรากฏว่าฮีโมโกลบิน อี    แทบจะไม่มีในหมู่คนจีน
1. ผลงานการวิจัยทาง   พันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์   พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือดลักษณะและจำนวนของยีน
2. ผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี ของนายแพทย์ประเวศ  วะสี
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 5 
                ชนชาติไทยน่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายูและ       หมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย แต่แนวคิดนี้ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการที่ค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย 
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์  สุคันธแมศวร์
อเนื่องถึงอนาคต  ทำให้มีความพร้อมใ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น