รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขุดคลองลัดเป็นแม่น้ำ

      ด้วยเหตุผลการค้าสำเภาทางทะเลของกรุงศรีอยุธยากับนานาชาติ ที่ต้องแล่นสำเภา จากอ่าวไทยเข้าตามลำน้ำเจ้าพระยา  ขึ้นสู่พระนครศรีอยุธยา  ทำให้พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ต้องทรงทำนุบรำรุงเส้นคมนาคมทางน้ำ ใ้ห้สะดวก และรวดเร็จ  เห็นได้จากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ซ่อมคลองสำโรง และคลองทับนาง เป็นต้น

      นับแต่นั้นมา พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์  คงโปรดให้พิจารณาวางแผน ขุดคอลงลัดเพื่อขจัดอุปกสรรคการเดินทางในแม่น้ำ (เจ้าพระยา) ที่คดโค้งหลายแห่ง  มีแห่งหนึ่งที่ต้องแก้ไข คือบริเวณที่เป็นกรุงเทพฯ  ปัจจุบัน มีคำบอกเล่าสืบกันมาว่า ลงมือขุดคลองลัดแห่งนี้สำเร็จในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช  ในปีใดปีหนึ่ง ระหว่าง พ.ศ. 2077 - 2089  ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างน้อย  2  ประการ  คือ

  1.   เส้นทางแม่น้ำ (เจ้าพระยา) สายเก่าลดความสำคัญลง  เพราะคดโค้งเสียเวลาเดินทาง  นานเข้าก็แคบลงเป็นคลอง  ต่อมามีชื่อเรียกคลอง บางกอกน้อย - คลองบางกอกใหญ่  สืบมาทุกวันนี้
  2. มีแมน้ำเจ้าพระยา (สายใหม่) เกิดขึ้น ตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย (บริเวณโรงพยาบาลศิริราช กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) จนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ (บริเวณพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี กับปากคลองตลาด)
แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม
แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม
แผนที่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่เมืองบางกอก หลังขุดคลองลัด
ภาพถ่ายทางอากาศ ทำจำลองแม่น้ำ (เจ้าพระยา) สายใหม่ ที่เมืองบางกอก เมืองขัดคลองลัด
       ก่อนขุดคลองลัด  มีคำบอกเล่าเก่าแก่ว่า ครั้งหนึ่ง ผู้จอดเรือแพพักแรมหุงหาอาหารเช้ากิน บริเวณริมฝั่งโค้งน้ำทางเหนือ (คือปากคลองบางกอกน้อย) เมื่อกินเสร็จแล้ว ก็ถ่อพายเรือแพ เข้าแม่น้ำคดโคงต่อไป  ใช้เวลาเต็มวัน ก็จอดพักหุงหาอาหารเย็นกินบริเวณริมฝั่งโค้งน้ำทางใต้ (คือปากคลองบางกอกใหญ่) เมื่อตั้งหม้อข้าว เพื่อหุงข้าวด้วยฟืนเสร็จแล้ว ก็นึกขึ้นได้ว่า ลืมไม้ขัดหม้อ สำหรับฝาหม้อรินน้ำข้าวออกไว้ที่ปากคลองบางกอกน้อย ที่พักหุงข้าวเมื่อตอนข้า จึงรีบเดินลัดเรือกสวนไปเอาไม้ขัดหม้อ ที่ลืมไว้ ่เมื่อได้กลับมาที่เดิมก็พอดีข้าวเดือดทันใช้ขัดฝาหม้อ ิรนน้ำข้าว
      คำบอกเล่าอย่างนี้ แสดงให้เห็นลักษณะคดโค้งของแม่น้ำ (เจ้าพระยา) สายเก่า ที่เสียเวลาเดินทางเต็มวัน  ถ้าตัดตรงลงช่วงคอคอดคดโค้ง จะใช้เวลาเพียงชั่วหม้อข้าวเดือดเท่านั้น
      ตรงบริเวณคลองบางกอกใหญ่นี่เอง  เมื่อขุดคลองลัดแล้ว จะกลายเป็นชุมชนบ้านเมืองใหม่ต่อไปข้างหน้า  เพราะโค้งแม่น้ำเดิมตรงนี้ เป็นบริเวณเวิ้งน้ำ กว้างใหญ่ตามธรรมชาติ  ที่ได้ชื่อในสมัยหลังว่า บางหลวง  แต่คนทั่วไป เข้าใจเป็นชื่อคลองบางกอกใหญ่
       บางทีอาจมีข้อกังขาว่า แต่ก่อนนั้นขุดคลองกันอย่างไร ? ดังนั้น จึงจะแทรกเรื่องไว้ตรงนี้ก่อน
  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ มีลายพระหัตถ์ไว้ ตอนหนึ่งว่า "การขุดลัดครั้งแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชา เห็นจะไม่ได้ขุดแผ่นดินดอน คงจะมีคลองลัดเล็ก ๆ  ซึ่งเขาเดินเรือกันอยู่แล้วเป็นสิ่งนำทางขุดซ้ำรอย ให้เป็นคลองกว้างขวาง"  (สาส์นสมเด็จ เล่ม 14:  คุรุสภา  2526:  หน้า 226)  และทรงย้ำอีกว่า "คลองลัด น่าจะเป็นชาวบ้านขุดบางประจบกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น