รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หน่วยที่99

หน่วยที่99

พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา การเมืองการปกครอง สถาบันพระมหากษัตริย์ การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา เปลี่ยนแปลงต่างไปจากสุโขทัยเพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม) เข้ามามาก โดยเฉพาะลัทธิเทวราช ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง ลัทธินี้องค์พระมหากษัตริยืทรงเป็นสมมุติเทพอยู่เหนือบุคคลสามัญ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร คือ นอกจากจะทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินแล้ว ยังทรงเป็น เจ้าของชีวิตราษฎรอีกด้วย พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา จึงมีฐานะแตกต่างจากพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก เช่น การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ต้องหมอบคลานแสดงความอ่อนน้อม การพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้ราชาศัพท์ เมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังราษฎรต้องหมอบกราบและก้มหน้า มีกฎมณเฑียรบาลห้ามมองพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระองค์เป็นสมมุติเทพและเพื่อการป้องกันการทำร้ายพระองค์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับประชาชนห่างเหิน กัน ความใกล้ชิดแบบบิดาปกครองบุตรแบบสุโขทัยจึงน้อยลงทุกขณะ นอกจากนี้ยังมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์และราช บัลลังก์อีก เช่น ให้ถือเขตพระบรมมหาราชวัง เป็นเขตหวงห้ามสำหรับประชาชนสามัญ มีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด มีนายประตูดูแลตลอดเวลา มีมาตราป้อนกันมิให้เจ้าเมือง ลูกขุน ราชบุตร ราชนัดดาติดต่อกัน ต้องการให้แต่ละบุคคลแยกกันอยู่ เป็นการแยกกันเพื่อปกครอง มิให้มีการรวมกันได้ง่ายเพราะอาจคบคิดกันนำภัยมาสู่บ้านเมืองหรือราช บัลลังก์ได้ การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 1893 – 1991 การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้ 1.การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้ กรมเวียง หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากรใช้จ่ายพระราชทรัพย์ จัดแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย ในด้านต่างประเทศทำสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม 2. การปกครองส่วนภูมิภาค การ จัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย เพราะเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้ เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการ เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่าน กับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน 2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมืองลูกหลวง หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย อยู่ห่างจากราชธานีต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ มีเจ้าเมืองปกครอง อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม หรือเป็นผู้ที่ทางเมืองหลวงต่างตั้งไปปกครอง เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ชายแดนของอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่นจัดการปกครองภายในของตนเอง แต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตามกำหนด ได้แก่ ยะโฮร์ เขมร และเชียงใหม่ (ล้านนา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น