รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


 กรุงเทพฯ  เวนิสตะวันออก  

    ในอดีต  กรุงเทพฯ ได้ชื่อว่า เป็นเวนิสตะวันออก เพราะไม่ว่าจะไปทางไหน ล้วนแต่เต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลอง  ซึ่งใช้เป็นทางสัญจรไปมา  ที่คราคร่ำไปด้วยเรือแพนานาชนิด แล่นกันขวักไขว่ในท้องน้ำ เช่นเดียวกับเมืองเวนิสในประเทศอิตาลี

      เมื่อ  100  กว่าปีมาแล้ว  คนกรุงเทพฯ ไปไหน ต้องใช้เรือเป็นพาหนะทั้งสิ้น  เพราะสมัยนั้น กรุงเทพฯ ไม่มีถนน มีแต่คลอง  จึงพูดได้ว่า  คืบก็คลอง ศอกก็คลอง เช่นเดียวกับชาวทะเล ที่ว่า คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล

     แต่ปัจจุบัน  สภาพดังกล่าวได้หมดไปแล้ว  เพราะถนนและรถยนต์ ได้เข้ามามีบทบาทแทนคลอง ซึ่งให้ความสะดวก และรวดเร็วกว่าหลายเท่า (แต่ปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2552 เรือมีความสำคัญกว่า  เนื่องจากรถมาก  ทำให้ติด  จึงไปได้ช้ากว่าเรือ  คนจึงหันมานิยมใช้เรือกันมากกว่า  กรุงเทพฯ จึงมีนโยบาย จะทำคลองให้เป็นทางสัญจรเหมือนในอดีต เพื่อทำให้น้ำไม่สกปรก  และทุ่นเวลารถติดได้เยอะ) ดังนั้น กรุงเทพฯ จึงไม่ใช่เวนิสแห่งตะวันออกอีกต่อไปแล้ว
     อย่างไรก็ดี  กรุงเทพฯ  ก็ยังคงมีเค้าของเวนิสแห่งตะวันออกอยู่บ้าง  แต่ก็เลือนลางเต็มที  เนื่องจากคลองส่วนใหญ่ ถูกถมขยายถนน และคลองที่มีอยู่ก็นับวันจะหมดไปตามความเจริญของกรุงเทพฯ
     สำหรับคอลที่สำคัญในกรุงเทพฯ ที่ยังคงเหลืออยู่ในเวลานี้  ก็มีคอลหลอด คลองบางลำพู  คลองโอ่งอ่าง  คลองผดุงกรุงเกษม  คลองมหานาค  คลองแสนแสบ  คลองเปรมประชากร  คลองสามเสน  คลองพระโขนง  เป็นต้น
คลองหลอด
คลองหลอด
คลองหลอด
     เดิมนั้น เป็นคลองคูเมือง ในสมัยกรุงธนบุรี (กรุงธนบุรี ได้เอาแม่น้ำเจ้าพระยาไว้กลางเมือง เช่นเดียวกันกับเมืองพิษณุโลก  จึงมีทั้ฟากตะวันออก และตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา)
     ครั้นเมื่อ พระยาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงเทพฯ  เมื่อ พ.ศ. 2326 (จุลศักราช 1145) โปรดฯ ให้รื้อกำแพงเมืองธนบุรี ฟากตะวันออก ริมคลองหลอดเสีย เพื่อขยายพระนครให้กว้างออกไปอีก
     ความจริง แต่เดิมคลองนี้ ไม่ได้เรียกว่า คลองหลอด ทางด้านใต้ ชาวบ้านเรียกว่า คลองตลาด เพราที่ีปากคลอง มีตลาดใหญ่ ทั้งทางบกทางน้ำตั้งอยู่ (คือปากคลองตลาดในปัจจุบัน) ทางด้านเหนือเรียกว่าคลองโรงไหม เพราะมีโรงไหมของหลวงตั้งอยู่ (คือท่าช้างวังหน้า  ซึ่งปัจจุบัน สร้างเป็นสะพานพระปิ่นเกล้า)
     ส่วนคลองหลอดจริง ๆ  ก็คือคลองที่โปรดให้ขุด 2 คลองจากคลองคูเมืองเดิม ออกไปบรรจบกัลคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) คือขุดคลองหลอด  ที่ข้างวัดบูรณศิริอมาตยาราม (คือวัดบูรณศิริมากันตยาราม) คลองหนึ่ง กับขุดคลองหลอดที่ข้างวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามคลองหนึ่ง
     คำว่า คลองหลอด นั้น หมายความว่า เป็นคลองขนาดเล็ก ที่ขุดตรงไปทะลุออกคลองใหญ่ แต่ตามชนบท เวลานี้ถึงจะเป็นคลองที่ขุดคดเคี้ยวไม่ตรง  ชาวนาก็เรียกว่า "คลองหลอด" หรือ "ลำหลอด"  หรือ  "หลอด"  เหมือนกัน
     ปัจจุบัน คลองนี้เรือเข้าออกทางปากคลองตลาดได้เพียงด้านเดียว (ปัจจุบันจริง ๆ  แล้ว  ได้สร้างเขื่อนกั้นไว้หน้าโรงพักพระราชวัง  เรือจึงเข้าไม่ได้ เข้าได้เฉพาะเรือเล็ก ๆ  ทำความสะอาดคลอง) เพราะปากคลองทางด้านทิศเหนือ ได้สร้างสะพานพระปิ่นเกล้า คร่อมปากคลองไว้  ดังได้กล่าวไว้ในตอนแรก  เรือที่วิ่งเข้าออกดังกล่าว ก็มีเฉพาะเรือหางยาวบรรทุกต้นไม้ และผลไม
คลองบางลำพู หรือ คลองโอ่งอ่าง และคลองมหานาค   
คลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู
คลองโอ่างอ่างตรงสะพานเหล็ก
  คลองทั้งสองนี้  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ขุด คราวสร้างพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2326  คลองบางลำพู  กับคลองโอ่งอ่างความจริงเป็นคลองเดียวกัน  คือ  เป็นคลองคูพระนคร ทางด้านนะวันออก  ซึ่งโปรดฯ ให้เกณฑ์เขมรจำนวนหนึ่งหมื่นคน ทำการขุด  โดยขุดทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบางลำพู มาออกแม่น้ำเจ้าพระยาข้างวัดตีนเลน หรือวัดเชิงเลน(ปัจจุบัน คือ วัดบพิตรพิมุข) ยาว 45 เส้น 13 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก  พระราชทานนามว่า "คลองรอบกรุง"
     ในการขุดคลองคูพระนครดังกล่าวนี้ โปรดให้ขุดคลองหลอด กับคลองที่อยู่เหนือวัดสะแก (วัดสระเกษ) อีกคลองหนึ่ง  เมื่อเสร็จแล้ว  พระราชทานนามว่า "คลองมหานาค" (เนื่องจาก พระมหานาค เป็นแม่กองดำเนินการขุด) และพระราชทานนามวัดสะแก ว่า "วัดสระเกษ" (ปัจจุบัน เขียน วัดสระเกศ)
     การที่พระองค์ โปรดให้ขุดคลองมหานาคขึ้น ก็เพื่อจะให้ประชาชนชาวพระนคร ได้ไปลงเรือเล่นเพลงและสักวา ในเวลาหน้าน้ำเหมือนเาื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา  แต่ในเวลานั้น ยังไม่มีภูเขาทอง  เหมือนที่กรุงศรีอยุธยา  ดังนั้น ต่อมา ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงโปรดให้สร้างภูเขาทองขึ้นที่วัดสระเกศ
คลองผดุงกรุงเกษม
คลองมหานาค
คลองมหานาค
     เป็นคลองคูพระนครอยู่ชั้นนอก  ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว โปรดให้ขุด เพื่อขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเดิม
     คลองนี้  ว่าที่สมุหพระกลาโหม  เป็นแม่กอง  เจ้าหมื่นหววรนารถ เป็นกงสี  จ้างจีนทำการขุด  ทางเหนือทะลุแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างวัดเทวราชกุญชร  ทางใต้ทะลุแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างวัดแ้วฟ้า  โดยลงมือขุด เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม  พ.ศ. 2394 (เดือน 12 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน ตรีศก) ยาว 137 เส้น กว้าง 10 วา ลึก 6 ศอก  ขุดเสร็จ เมื่่อวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2395 (เดือน 9 แรม 14 ค่ำ) รวมเวลาขุด 10 เดือน ราคาขุด เส้นละ 4 ชั่ง 10 ตำลึง คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 391 ชั่ง 10 ตำลึง 1 บาท 1 เฟื้อง  ทั้งนี้รวมทั้งค่าขุดตอไม้ ตลอดทั้งคอลด้วย เมื่อขุดเสร็จแล้ว ได้ประมาณ 4-5 ปี  จึงโปรดฯ ให้มีการฉลองคลอง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2379 (เดือน 1 ขึ้น 14 ค่ำ) โดยทรงขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ให้ปลูกศาลา และโรงตามแถวริมคลอง ฟากละ 50 หลัง ตลอดทั้งคลองรวม 5 ฟาก เป็นศาลา และโรง 100 หลัง แล้วให้เผดีงพระสงฆ์ 500 รูป เจริญพระปริตรหลังละ 5 รูป และมีกาารละเล่นต่าง ๆ  พอวันรุ่งขึ้น ถวายอาหารบิณฑบาต และถวายไทยทาน ส่วนราษฎร ทำบุญตามศรัทธา พอตกกลางคืนวันอังคาร ให้ชาวบ้านที่อยู่ริมคลอง จุดโคมไฟให้สว่างไสวทั้ง 2 ฟากคลอง ปรากฏว่า มีเจ้านายข้าราชการ และราษฎรลงเรือพากันมาเที่ยวเล่นเป็นจำนวนมาก
     คลองผดุงกรุงเกษม  ขุดผ่านคอลงมหานาคที่สี่แยกมหานาค ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นย่านการค้าทางเรือที่สำคัญตลอดมา  จนกระุทั่งปัจจุบัน  และขุดผ่่านทุ่งวัวลำพอง (บริเวณหัวลำโพง) ซึ่งสมัยนั้นเป็นทุ่งนา และทุ่งหญ้าเลี้ยงวัว  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คลองนี้ได้รับการขุดลอกและทำเขื่อน ตลอดทั้งสองฟากคลอง พร้อมกับปลูกต้นไม้เป็นที่ร่มรื่น  แม้แต่เมืองเวนิสก็ต้องอาย เพราะของเรามีทั้งคลอง ทั้งถนนขนาน 2 ฟากคลอง  ที่สามารถให้เรือ และรถจอดเทียบกันได้ ส่วนเมืองเวนิส มีแต่คลองอย่างเดียว ไม่มีถนนขยานกับคลองเหมือนเมืองไทย
คลองเปรมประชากร
     เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเป็นคลองแรก ในรัชกาลของพระองค์  โดยโปรดฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ (ช่วง  บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการ  เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์  ที่สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กอง  พระชลธารวินิจฉัย เป็นผู้ปักหมายกรุย  และจ้างจีนขุด เมื่อ พ.ศ. 2412 (จุลศักราช 1231) เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2413 (จุลศักราช 1232) รวมประมาณ 18 เดือน  เป็นเงินประมาณ 1,000 ชั่งเศษ
     คลองนี้ ตั้งต้นที่คลองผดุงกรุงเกษม ตรงหน้าวัดโสมนัสวิหาร ส่วนปลายคลอง ไปทะลุที่ตำบลเกาะใหญ่ แขวงกรุงเก่า (คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)   
คลองบางกอกใหญ่
คลองบางกอกใหญ่
     สถานที่สำคัญ ๆ  ซึ่งตั้งอยู่ที่สองฝั่งคลองนี้ มีพระราชวังดุสิต วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ปัจจุบัน ก็มีพระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาน (พระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน) ทำเนียบรัฐบาล (ตั้งอยู่ปากคลอง) สวนสัตว์ดุสิต โรงเรียนวชิราวุธ และโรงงานปูนซิเมนต์ไทย ที่บางซื่อ เป็นต้น
       คลองเปรมประชากร  มีถนนพระราม 5 ขนานไปจนถึงบางซื่อ และมีถนนนครปฐม ขนานตั้งแต่หน้าทำเนียบรัฐบาลไปจนถึงวัดเบญจมบพิตร
คลองแสนแสบ
     เป็นคลองที่ห่างไกลจากพระนครมาก เมื่อสมัยกว่า 100 ปีมาแล้ว แต่กลายเป็นคลอง ที่เกือบจะพูดได้ว่าอยู่ในใจกลางกรุงเทพฯ
    คลองนี้ แต่เดิมตั้งแต่สี่แยกมหานาค ผ่านสระปทุม ประตูน้ำ วัดมักกะสัน (วัดบางกะสัน) วัดบางกะปิ จนถึงวัดใหม่ช่องลม เรียกว่า คลองบางกะปิ ต่อจากนั้นไปเรียกว่า คลองแสนแสบ
     คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุด ตั้งแต่หัวหมาก ไปถึงบางขนาก จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. 2380 (จุลศักราช 1199) เพื่อเป็นทางลำเลียงกองทัพครั้งทำสงครามกับญวน
     สองฝั่งคลองแสนแสบ มีสถานที่สำคัญซึ่งสมควรจะกล่าอยู่ 2 แห่ง คือ สระปทุม กับวัดมักกะสัน
     สระปทุม ปัจจุบัน อยู่หลังย่านการค้าราชประสงค์ หลังตึกกองการเงิน กรมตำรวจ (ปัจจุบัน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และข้างวัดสระปทุมวนาราม เป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดฯ ให้สร้างขึ้น พร้อมกับวัดสระปทุม โดยให้ขุดสระ เป็นเกาะเล็กเกาะน้อย ปลูกบัวต่าง ๆ  ส่วนบนเกาะ ปลูกไม้ดอกนานาพันธุ์ และสร้างพระที่นั่งประทับแรมพลับพลา โรงละคร ที่เจ้าจอมอยู่ โรงครัวข้างใน โรงครัวเลี้ยงขุนนาง แล้วพระองค์เสด็จทางชลมารค ตามคลองบางกะปิ มาประทับแรม  ณ วังสระปทุม นานถึง 2-3 วัน ทุกปี
     วัดมักกะสัน (วัดบางกะสัน) อยู่ริมคลองกลางทุ่งบางกะปิ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นที่ตัดคอประหารชีวิตนักโทษ เมื่อประมาณหลาย ปีมาแล้ว ตั้งแต่ประตูน้ำ จนถึงอำเภอบางกะปิ ยังไม่มีถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนคลองตันขนาบ เช่นปัจจุบัน  ปรากฏว่า มีเรือเมล์ขาว บริษัทนายเลิศ วิ่งระหว่างประตูน้ำ กับอำเภอมีนบุรี เป็นประจำ  แม้เวลานี้ ก็ยังมีเรือวิ่งบริการรับส่งผู้โดยสารตามบ้านริมคลองอยู่
     ส่วนทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันมีคลองที่สำคัญอยู่หลายคลอง  อาทิ  คลองบางกอกน้อย  คลองบางกอกใหญ่  คลองมอญ  คลองภาษีเจริญ และคลองดาวคะนอง เป็นต้น
คลองแสนแสบ
คลองแสนแสบ
     จากหนังสือ "มิตรพลี"  พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ เล่าถึงเรื่องคลองในกรุงเทพฯ เมื่อสมัยต้น ๆ  รัชกาลที่ 5 ว่า สกปรก และตื้นเขินมาก  เพราะคนชอบเทขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลลงในคลอง  แม้แต่ส้วมหรือที่สมัยก่อนเรียกว่า "เว็จ" ก็ชอบสร้างไว้ริมคลอง จึงทำให้ขยะมูลฝอย และอุจจาระลอยตามน้ำขึ้นน้ำลงเป็นแพ
     ความจริง  ทางการสมัยนั้น ก็เห็นความสำคญของคลองเหมือนกัน จึงได้ตราพระราชบัญญัติ รักษาคลองขึ้นเรียกว่า "พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก 121" พระราชบัญญัตินี้กล่าวถึงความสำคัญของคลองว่า    
     "มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า การเพาะปลูกก็ดี การค้าขายไปมาก็ดี ในพระราชอาณาเขตนี้ ทางน้ำลำคลองเป็นสำคัญ และในเวลานี้ คลองก็มีอยู่แล้วเป็นอันมาก แต่ชำรุดตื้นเขินไปเสียโดยมาก  เหตุเพราะยังมิได้จัดการรักษาให้พอเพียง  ทรงพระราชดำริจะบำรุงและรักษาคลองเก่า ที่มีอยู่แล้ว และที่จะขุดขึ้นใหม่ให้เรียบร้อยถาวร เพื่อใช้ประโยชน์และสะดวกแก่ธุระ ของราษฎรยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น