รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติการสร้างพระบรมมหาราชวัง

      พระบรมมหาราชวังแห่งใหม่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก มหาราช โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้าง เมื่อวันที่  6  พฤษภาคม  พ.ศ.  2325  ในขั้นแรก โปรดให้สร้างพระราชมนเทียร ด้วยเครื่องไม้ และรายรอบพระบรมมหาราชวัง ด้วยเสาระเนียด เป็นการชั่วคราวก่อน  เพื่อให้ทันการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เฉลิมพระราชมนเทียรในวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน  พ.ศ.  2325

ผังแสดงป้อมเมือง
ผังแสดงป้อมเมือง

    ปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2326  โปรดให้แก้ไขพระราชมนเทียรสถาน และระเนียด ล้อมรอบพระราชวัง  จากเครื่องไม้ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน  สร้างป้อมปราการ แะลประตูรอบพระราชวัง เช่นเดียวกับป้อมปราการพระนคร  พระบรมมหาราชวัง เมื่อสร้างเสร็จแล้วในช่วงหลัง ๆ  มีป้อมรอบกำแพง 17 ป้อม มีผู้รวบรวบมชื่อไว้ดังนี้

         1.  ป้อมอินทรรังสรรค์  อยู่มุมกำแพงพระบรมมหาราชวัง ด้านตะวันตกข้างเหนือ ตรงท่าพระ  รื้อทำถนนนอกกำแพงในรัชกาลที่  6
       2.  ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร  อยู่ด้านเหนือต่อประตูวิเศษไชยศรี ไปทางตะวันออก
      3.  ป้อมเผด็จดัสกร  อยู่มุมกำแพงด้านตะวันออกข้างเหนือ (ตรงข้ามศาลหลักเมือง
      4.  ป้อมสัญจรใจวิง  (สร้างเพิ่มในรัชกาลที่  4) อยู่ด้านตะวันออก ตรงถนนบำรุงเมือง ใต้พระที่นั่งชัยชุมพล
     5.  ป้อมสิงขรขันธ์  อยู่ด้านตะวันออก ใต้ประตูสวัสดิโสภา ตรงวังสราญรมย์
     6.  ป้อมขยันยิงยุทธ  (สร้างเพิ่มในรัชกาลที่  4)  อยู่ด้านตะวันออก ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์  ข้างเหนือ
      7.  ป้อมฤทธิรุดโรมรัน  (สร้างเพิ่มในรัชกาลที่  4)  อยู่ด้านตะวันออก ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ข้างใต้
      8.  ป้อมอนันตคีรี  อยู่ใต้ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์  เหนือมุมกำแพง ด้านตะวันออก ด้านใต้
      9.  ป้อมมณีปราการ อยู่มุมกำแพง ด้านตะวันออก ข้างใต้
      10.  ป้อมพิศาลสีมา อยู่บนกำแพงด้านใต้  ตรงวัดพระเชตุพน  ระหว่างประตูวิจิตรบรรจง กับประตูอนงคารัก
      11.  ป้อมภูผาสุทัศน์  อยู่บนกำแพงด้านใต้  ทิศตะวันตก
      12. ป้อมสัตตบรรพต  อยู่มุมกำแพง ด้านตะวันตก ข้างใต้  ริมประตูพิทักษ์บวร (รื้อทำถนนนอกกำแพงในรัชกาลที่  6)
      13.  ป้อมโสฬสศิลา  อยู่บนกำแพงด้านตะวันตก  เหนือประตูอุดมสุดารักษ์
      14.  ป้อมมหาสัตตโลหะ  อยู่บนกำแพงด้านตะวันตก เหนือประตู อุดมสุดารักษ์
       15.  ป้อมทัศนนิกร  (สร้างเพิ่มในสมัยรัชกาลที่  5)  อยู่บนกำแพง ด้านตะวันตก ข้างเหนือ
      16.  ป้อมพรหมอำนวยศิลป์  อยู่ริมลำนำ  เหนือท่าราชวรดิษฐ์  รื้อแล้ว
      17.  ป้อมอินทร์อำนวยศร  อยู่ริมลำน้ำ  ใต้ท่าราชวรดิษฐ์  รื้อแล้ว
(โปรดสังเกต :  ตั้งแต่หมายเลข 1 - 15  ชื่อจะคล้องจองกัน  ตามราชประเพณี  ที่ชอบตั้งชื่อ คล้องจองกัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น