รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติธงชาติไทยบทีี่83

ประวัติธงชาติไทย

     เสาธงคันนั้น  สูงตระหง่านเมฆ มีสายระโยงขึ้งเสาอย่างแข็งแรงประวัติธงชาติไทย

     เสาธงคันนั้น  สูงตระหง่านเมฆ มีสายระโยงขึ้งเสาอย่างแข็งแรง บนยอดสุด ชักธงชาติปลิวสะบัดอยู่ไสว

      เสาธงคันนี้ คือเสาธงอยู่ที่ปากคลองสาน ของกรมเจ้า่ท่า ซึ่งถ้าใคร ๆ ผ่านไปมาก็ต้องเห็น แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า เสาธงดังกล่าว มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

      เสาธงคันนี้  มีประวัติยืดยาวเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่องเสาธง ประวัิตศาสตร์ต้นดังกล่าว จะขอเล่าถึงความเป็นมาของเรื่อง "การชักธง" เสียก่อน

      แรกทีเดียว ไทยเราไม่มีประเพณีทำเสาธง และชักธงบนบก แต่ทั้งนี้ ก็มิได้หมายความว่า เราไม่เคยรู้จักธง หรือการชักธงก็หาไม่ ความจริง เรารู้จักใช้ธง และชักธงมานานแล้ว ซึ่งท่านไปอ่านหนังสือวรรณคดีเก่า ๆ  ที่กล่าวถึง การยกทัพจับศึกดู ก็จะพบว่า กองทัพไทยในสมัยโบราณ ใช้ธงสีต่าง ๆ  ประจำกองทัพละสี ส่วนการชักธงธรรมเนียมของเราใชัชักธงแดงบนเสาใบเรือกำปั่น ที่ไปค้าขายกับต่างประเทศเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว
ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 4
ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 4
      ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 2 ปรากฏว่า ในรัชกาลนี้ มีช้างเผือกเอก ถึง 3 ช้าง คือ
      "พระยาเสวตกุญชร อดิศรประเสริฐศักดิ์ เผือกเอกอรรคไอยรา มงคลพาหนะนารถ  บรมราชจักรพรรดิ วิเชียรรัตนนาเคนทร์ ชาติคเชนทรฉันทันต์ หิรัญรัศมีศรีพระนคร สุนทรลักษณเลิศฟ้า" (โปรดสังเกตชื่อนะครับ จะคล้องจองกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมของราชสำนัก ที่ตั้งชื่ออะไร นิยมตั้งแบบคล้องจองกัน)
      พระยาเสวตกุญชรนี้ ได้มาจากเมืองโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา เมื่อจุลศักราช 1174 (คือ พ.ศ. 2355)
      "พระยาเสวตไอยรา บวรพาหนะนารถ อิศราราชบรมจักร ศรีสังข์ศักดิอุโบสถ คชคเชนทรชาติอากาศจารี เผือกผ่องศรีบริสุทธิ เฉลิมอยุธยา ยิ่งวิมลมิ่งมงคล จบสกลเลิศฟ้า"
      พระยาเสวตไอยรานี้ ได้มาจากเมืองเชียงใหม่ เมื่อจุลศักราช 1177 (คือ พ.ศ. 2359)
      "พระยาเสวตรคชลักษณ์  ประเสริฐศักดิ์สมบูรณ์  เกิดตระกูลสารสิบหมู่  เผือกผู้พาหนะนารถ  อิศราราชธำรง  บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์สุรารักษ์รังสรรค์  ผ่องผิวพรรณผุดผาด  ศรีไกรลาศเลิศลบ  เฉลิมพิภพอยุทธยา  ขัณฑเสมามณฑล  มิ่งมงคลเลิศฟ้า"
      พระยาเสวตรคชลักษณ์นี้ ได้มาจากเมืองน่าน เมื่อจุลศักราช 1179 (คือ พ.ศ. 2360)
      การที่ได้ช้างเผือกเอกถึง 3 ช้าง ในรัชกาลเดียวกันนี้ ในครั้งนั้น ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งในสยามประเทศ ตลอดจนเมืองพม่ารามัญ เมื่อครั้งกรุงเก่า ในแผ่นดิน สมเด็จพระมหาจักพรรดิ จะปรากฏว่ามีช้างเผือกถึง 7 ช้างก็จริง แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นช้างเผือกเอกกี่ช้าง
      ด้วยเหตุที่ได้ช้างเผือกเอกมาถึง 3 ช้าง ดังกล่าว  ราษฎรจึงได้พากันชื่นชมยินดี ในพระบารมีเป็นอันมาก และ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้โปรดฯ ให้ทำรูปช้างเผือกสีขาว อยู่ในกลางวงจักรติดในธงพื้นสีแดง ใช้ชักในเรือหลวง แต่นั้นมา
      แต่เรือค้าขายของราษฎร ก็คงใช้ธงสีแดงเลี้ยงอยู่ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4
      ในรัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดธรรมเนียมฝรั่ง โปรดฯ ให้ทำเสาธงขึ้น  ณ พระราชวังเดิม อันเป็นวังที่ประทับในขณะนั้น แล้วก็ชักธงบริวารเป็นเครื่องบูชาในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทอดพระกฐิน  เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ผ่านมาทอดพระเนตรเห็นเข้า จึงตรัสถามผู้ที่ตามเสด็จฯ ว่า "นั่นท่านฟ้าน้อย เอาผ้าขี้ริ้วขึ้นตากทำไม่"
      จากคำตรัสถามของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงพระนิพนธ์เรื่องนี้ ในหนังสือ "ความทรงจำ" ทรงวินิจฉัยว่า ที่มีพระราชดำรัสเช่นนี้ มิใช่เพราะพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยูหัว ไม่ทรงทราบว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว ทรงทำโดยความเคารพตามธรรมเนียมฝรั่ง  แต่เป็นเพราะพระองค์ไม่โปรดฯ ในการทำเสาธง  และชักธงเอาอย่างฝรั่งต่างหาก
      ครั้นพอถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทราบขนบะรรมเนียมฝรั่งเป็นอย่างดี มีพระราชดำรัส สั่งให้ทำเสาธงขึ้น ทั้งในวังหลวง และวังหน้า เพื่อจะชักธงตามแบบอย่างฝรั่ง คือ เสาธงวังหลวง โปรดฯ ให้ชักธงตราพระมงกุฏ ซึ่งเป็นธงประจำพระองค์ ส่วนเสาธงวังหน้า โปรดฯ ให้ชักธงจุฑามณี (ปิ่น) อันเป็นธงประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้อยู่หัว
      การตั้งเสาธง และชักธงดังกล่าว ราษฎรพากันเข้าใจว่า เป็นเครื่องหมายแห่งพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน
      ครั้นเมื่อไทยทำสัญญา ทางพระราชไมตรีกับฝรั่งต่างประเทศแล้ว ก็ได้มีสถานกงสุลฝรั่งประเทศต่าง ๆ  เข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สถานกงสุลเหล่านั้น ต่างก็ทำเสาธง และชักธงชาติของตนขึ้น ตามประเพณี  ราษฎรจึงพากันตกใจ  โจษกันว่า พวกกงสุลเหล่านั้น เข้ามาแข่งพระบรมเดชานุภาพ

      ความดังกล่าวนี้ ทรงทราบถึงพระกรรณ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชดำริหาอุบายแก้ไข  โปรดฯ ให้เจ้านาย และขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย ทำเสาธง และชักธงช้างขึ้นที่ตามวัง และตามบ้าน เมื่อราษฎรเห็นมีเสาธง และชักธงกันมากก็หายตกใจ  การสร้างเสาธง และชักธง  จึงกลายเป็นของธรรมดาไป บนยอดสุด ชักธงชาติปลิวสะบัดอยู่ไสว

      เสาธงคันนี้ คือเสาธงอยู่ที่ปากคลองสาน ของกรมเจ้า่ท่า ซึ่งถ้าใคร ๆ ผ่านไปมาก็ต้องเห็น แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า เสาธงดังกล่าว มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

      เสาธงคันนี้  มีประวัติยืดยาวเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่องเสาธง ประวัิตศาสตร์ต้นดังกล่าว จะขอเล่าถึงความเป็นมาของเรื่อง "การชักธง" เสียก่อน

      แรกทีเดียว ไทยเราไม่มีประเพณีทำเสาธง และชักธงบนบก แต่ทั้งนี้ ก็มิได้หมายความว่า เราไม่เคยรู้จักธง หรือการชักธงก็หาไม่ ความจริง เรารู้จักใช้ธง และชักธงมานานแล้ว ซึ่งท่านไปอ่านหนังสือวรรณคดีเก่า ๆ  ที่กล่าวถึง การยกทัพจับศึกดู ก็จะพบว่า กองทัพไทยในสมัยโบราณ ใช้ธงสีต่าง ๆ  ประจำกองทัพละสี ส่วนการชักธงธรรมเนียมของเราใชัชักธงแดงบนเสาใบเรือกำปั่น ที่ไปค้าขายกับต่างประเทศเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว
ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 4
ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 4
      ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 2 ปรากฏว่า ในรัชกาลนี้ มีช้างเผือกเอก ถึง 3 ช้าง คือ
      "พระยาเสวตกุญชร อดิศรประเสริฐศักดิ์ เผือกเอกอรรคไอยรา มงคลพาหนะนารถ  บรมราชจักรพรรดิ วิเชียรรัตนนาเคนทร์ ชาติคเชนทรฉันทันต์ หิรัญรัศมีศรีพระนคร สุนทรลักษณเลิศฟ้า" (โปรดสังเกตชื่อนะครับ จะคล้องจองกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมของราชสำนัก ที่ตั้งชื่ออะไร นิยมตั้งแบบคล้องจองกัน)
      พระยาเสวตกุญชรนี้ ได้มาจากเมืองโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา เมื่อจุลศักราช 1174 (คือ พ.ศ. 2355)
      "พระยาเสวตไอยรา บวรพาหนะนารถ อิศราราชบรมจักร ศรีสังข์ศักดิอุโบสถ คชคเชนทรชาติอากาศจารี เผือกผ่องศรีบริสุทธิ เฉลิมอยุธยา ยิ่งวิมลมิ่งมงคล จบสกลเลิศฟ้า"
      พระยาเสวตไอยรานี้ ได้มาจากเมืองเชียงใหม่ เมื่อจุลศักราช 1177 (คือ พ.ศ. 2359)
      "พระยาเสวตรคชลักษณ์  ประเสริฐศักดิ์สมบูรณ์  เกิดตระกูลสารสิบหมู่  เผือกผู้พาหนะนารถ  อิศราราชธำรง  บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์สุรารักษ์รังสรรค์  ผ่องผิวพรรณผุดผาด  ศรีไกรลาศเลิศลบ  เฉลิมพิภพอยุทธยา  ขัณฑเสมามณฑล  มิ่งมงคลเลิศฟ้า"
      พระยาเสวตรคชลักษณ์นี้ ได้มาจากเมืองน่าน เมื่อจุลศักราช 1179 (คือ พ.ศ. 2360)
      การที่ได้ช้างเผือกเอกถึง 3 ช้าง ในรัชกาลเดียวกันนี้ ในครั้งนั้น ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งในสยามประเทศ ตลอดจนเมืองพม่ารามัญ เมื่อครั้งกรุงเก่า ในแผ่นดิน สมเด็จพระมหาจักพรรดิ จะปรากฏว่ามีช้างเผือกถึง 7 ช้างก็จริง แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นช้างเผือกเอกกี่ช้าง
      ด้วยเหตุที่ได้ช้างเผือกเอกมาถึง 3 ช้าง ดังกล่าว  ราษฎรจึงได้พากันชื่นชมยินดี ในพระบารมีเป็นอันมาก และ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้โปรดฯ ให้ทำรูปช้างเผือกสีขาว อยู่ในกลางวงจักรติดในธงพื้นสีแดง ใช้ชักในเรือหลวง แต่นั้นมา
      แต่เรือค้าขายของราษฎร ก็คงใช้ธงสีแดงเลี้ยงอยู่ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4
      ในรัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดธรรมเนียมฝรั่ง โปรดฯ ให้ทำเสาธงขึ้น  ณ พระราชวังเดิม อันเป็นวังที่ประทับในขณะนั้น แล้วก็ชักธงบริวารเป็นเครื่องบูชาในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทอดพระกฐิน  เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ผ่านมาทอดพระเนตรเห็นเข้า จึงตรัสถามผู้ที่ตามเสด็จฯ ว่า "นั่นท่านฟ้าน้อย เอาผ้าขี้ริ้วขึ้นตากทำไม่"
      จากคำตรัสถามของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงพระนิพนธ์เรื่องนี้ ในหนังสือ "ความทรงจำ" ทรงวินิจฉัยว่า ที่มีพระราชดำรัสเช่นนี้ มิใช่เพราะพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยูหัว ไม่ทรงทราบว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว ทรงทำโดยความเคารพตามธรรมเนียมฝรั่ง  แต่เป็นเพราะพระองค์ไม่โปรดฯ ในการทำเสาธง  และชักธงเอาอย่างฝรั่งต่างหาก
      ครั้นพอถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทราบขนบะรรมเนียมฝรั่งเป็นอย่างดี มีพระราชดำรัส สั่งให้ทำเสาธงขึ้น ทั้งในวังหลวง และวังหน้า เพื่อจะชักธงตามแบบอย่างฝรั่ง คือ เสาธงวังหลวง โปรดฯ ให้ชักธงตราพระมงกุฏ ซึ่งเป็นธงประจำพระองค์ ส่วนเสาธงวังหน้า โปรดฯ ให้ชักธงจุฑามณี (ปิ่น) อันเป็นธงประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้อยู่หัว
      การตั้งเสาธง และชักธงดังกล่าว ราษฎรพากันเข้าใจว่า เป็นเครื่องหมายแห่งพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน
      ครั้นเมื่อไทยทำสัญญา ทางพระราชไมตรีกับฝรั่งต่างประเทศแล้ว ก็ได้มีสถานกงสุลฝรั่งประเทศต่าง ๆ  เข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สถานกงสุลเหล่านั้น ต่างก็ทำเสาธง และชักธงชาติของตนขึ้น ตามประเพณี  ราษฎรจึงพากันตกใจ  โจษกันว่า พวกกงสุลเหล่านั้น เข้ามาแข่งพระบรมเดชานุภาพ
      ความดังกล่าวนี้ ทรงทราบถึงพระกรรณ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชดำริหาอุบายแก้ไข  โปรดฯ ให้เจ้านาย และขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย ทำเสาธง และชักธงช้างขึ้นที่ตามวัง และตามบ้าน เมื่อราษฎรเห็นมีเสาธง และชักธงกันมากก็หายตกใจ  การสร้างเสาธง และชักธง  จึงกลายเป็นของธรรมดาไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น