รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย
                อาณาจักรสุโขทัย เกิดจากความรักชาติ ความเสียสละ และความสามารถของบรรพบุรุษไทย ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีพัฒนาการที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง มีความเจริญก้าวหน้า   ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรม จากผลงานและความสามารถของบรรพบุรุษไทยเป็นผู้สร้างมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นรากฐานของการพัฒนาชาติบ้านเมืองสืบทอดมาเป็นลำดับ
                การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีใน
ปี พ.ศ. 1762 ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา ได้มีเมืองสุโขทัยที่มีความเก่าแก่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ผลจากการตีความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ระบุว่าเดิมเมืองสุโขทัยมี      ผู้นำคนไทยชื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสมาดโขลญลำพง* เป็นนายทหารขอมที่เป็นใหญ่ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ ทางฝ่ายไทยได้มีการเตรียมการเพื่อยึดเมืองสุโขทัยกลับคืนจาก                     ขอมสมาดโขลญลำพง โดยมีผู้นำไทย 2 คน ได้แก่ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ          พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด พ่อขุนทั้งสอง เป็นสหายสนิทกัน และมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ร่วมกันนำกำลังเข้าชิงเมืองสุโขทัยกลับคืนมา เมื่อยึดเมืองสุโขทัยจากขอมได้เรียบร้อยแล้ว             พ่อขุนผาเมืองได้ยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย เพื่อให้กองทัพของพ่อขุนบางกลางหาวเข้าสู่เมืองสุโขทัย พร้อมกันนั้น พ่อขุนผาเมืองทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย แล้วถวายพระนามของพระองค์ที่ได้รับจากกษัตริย์ขอม คือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์          ให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งมอบพระขรรค์ไชยศรี แต่พ่อขุนบางกลางหาว      ทรงใช้พระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ของอาณาจักรสุโขทัย  นับตั้งแต่พ.ศ. 1762 เป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มี      อาณาเขตกว้างขวางมีหัวเมืองต่าง ๆ ที่คนไทยรวมตัวกันอยู่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรที่ตั้งขึ้นใหม่
ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
1. ขอมเสื่อมอำนาจลง หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1724-1761) สิ้นพระชนม์ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ปกครองต่อมาอ่อนแอ ขาดความเข้มแข็ง จึงเกิดช่องว่างของอำนาจทางการเมืองขึ้นในดินแดนแถบนี้ เปิดโอกาสให้บรรดาหัวเมืองต่างๆเติบโต และตั้งตนเป็นอิสระ
2. ความสามารถของผู้นำและความสามัคคีของคนไทย ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันผนึกกำลังต่อสู้นายทหารขอม จนได้รับชัยชนะ สามารถประกาศตนเป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม
                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย และมีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมา 9 พระองค์ ดังนี้
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วง 
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นคร ได้สรุปจำนวนกษัตริย์และปีที่ครองราชสมบัติไว้ ดังนี้

ลำดับที่
รายพระนาม /
ปีที่ครองราชสมบัติ
เหตุการณ์สำคัญ / พระราชกรณียกิจ
1.
พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์
(พ.ศ. 1762 – 1781)
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง เมื่อครั้งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์บ้านเมืองยังไม่สงบ ขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอดยกทัพมาตีเมืองตาก หากขุนสามชนยึดเมืองตากไว้ได้ก็อาจจะยกทัพผ่านมายังเมืองศรีสัชนาลัย และสุโขทัยตามลำดับ  พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์ทราบว่ามีกองทัพโจมตีเมืองตาก  จึงได้ยกทัพมาจากเมืองสุโขทัยพร้อมด้วยพระราม พระโอรสองค์ที่ 2 ทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ
2. อาณาจักรสุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยพระองค์ทรง
ผูกมิตรไมตรีกับ   พระเจ้าสิริธรรม แห่งเมืองนครศรีธรรมราช โดยแต่งทูตไปลังกา พร้อมกับทูตของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อติดต่อ
ขอพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรสุโขทัย
2.
พ่อขุนบานเมือง
(พ.ศ.1822 - 1842)
พ่อขุนบานเมืองทรงเป็นราชโอรสองค์โตของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ในสมัยที่พระราชบิดาทรง       ครองราชสมบัติ พระองค์คงจะได้เคยเป็นพระมหาอุปราชหรือได้รับมอบหมายให้ปกครองบ้านเมืองระหว่างที่มีสงครามและในสมัยที่พ่อขุนบานเมืองทรงครองราชสมบัติได้มีการปราบปรามหัวเมืองบางแห่ง

3.
พ่อขุนรามคำแหง
ปีที่พ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ เดิมสมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าประมาณพ.ศ. 1820 แต่จากการสัมมนาประวัติศาสตร์สุโขทัยวิเคราะห์กันแล้วว่าน่าจะเป็น พ.ศ. 1822
* ในที่นี้ขอใช้คำว่า
พ่อขุนรามคำแหง ซึ่งชื่อเดิมของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ         พ่อขุนราม แต่เมื่อครั้งพระองค์อาสาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระราชบิดา ออกรบชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อได้รับชัยชนะ  พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์จึงสถาปนาเป็นพ่อขุนรามคำแหง

1. พ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง ทรงพระราชสมภพ เมื่อประมาณ
ปี พ.ศ. 1800 มีพระนามเดิมว่าพระร่วง มีความหมายว่า รุ่งโรจน์ 
2. ขณะที่พ่อขุนรามคำแหง มีพระชนมายุ 19 พรรษา พระองค์ทรงตามเสด็จพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาไปในการทำศึกสงครามกับ
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด  ซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก โดยพ่อขุนรามคำแหงทรงแสดงพระปรีชาสามารถโดยไสช้างพระที่นั่งของพระองค์เข้าช่วยพระราชบิดาจนได้รับชัยชนะ ด้วยความกล้าหาญของพระองค์ พระราชบิดาได้พระราชทานนามให้พระองค์ว่า รามคำแหงหมายถึง
ผู้กล้าหาญ
3. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย การประดิษฐ์อักษรไทยนับเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1826 สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอมและมอญ และพระองค์ทรงจารึกตัวอักษรลงในหลักศิลาจารึกที่เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ในรัชกาลของพระองค์และสังคมสุโขทัย
4. ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนชาติไทยเรืองอำนาจเหนือดินแดนในสุพรรณภูมิ อีกทั้งยังมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาล
ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ดังนี้
  • ทิศเหนือ มีขอบเขตไปถึงเมืองแพร่, เมืองน่าน, เมืองพลัว (.........), เมืองชวา (ปัจจุบันคือ เมืองหลวงพระบาง)
  • ทิศใต้ มีขอบเขตไปถึง เมืองคณฑี (จังหวัดกำแพงเพชร),
    เมืองพระบาง (จังหวัดนครสวรรค์), เมืองแพรก (จังหวัดชัยนาท),
    เมืองนครศรีธรรมราช, เมืองสุพรรณภูมิ (จังหวัดสุพรรณบุรี)  จนจดฝั่งทะเล
  • ทิศตะวันออก มีขอบเขตไปถึงเมืองสระหลวง (จังหวัดพิจิตร), เมืองสองแคว (จังหวัดพิษณุโลก) , เมืองลุมบาจาย (จังหวัดเพชรบูรณ์), เมืองสคา (........) ถึงเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงคำ
  • ทิศตะวันตก มีขอบเขตไปถึงเมืองฉอด, เมืองหงสาวดี
    จนสุดชายฝั่งทะเล

4.
พญาเลอไท
พญาเลอไท   ทรงได้ดำเนินนโยบายในการพยายามรวบรวมอาณาเขตตลอดชั่วระยะเวลา 18 ปีที่พระองค์ ทรงครองราชสมบัติ
5.
พญางั่วนำถุม
ในสมัยของพญางั่วนำถุมครองราชสมบัติ เป็นช่วงระยะเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะที่คลอนแคลน มีความแตกแยกระหว่างเจ้านายในพระราชวงศ์ออกเป็นหลายฝ่าย เมื่อพญางั่วนำถุมสวรรคต  ก็มีการแย่งชิง
ราชสมบัติเกิดขึ้นที่เมืองสุโขทัย  พญาลิไทซึ่งครองเมืองศรีสัชนาลัย
ต้องยกทัพเข้ามาปราบปรามและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
6.
พระมหาธรรมราชา
ที่ 1
(พญาลิไท)
(ขึ้นครองราชย์สมบัติ
ปี พ.ศ. 1890)
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6
แห่งอาณาจักรสุโขทัยทรงเป็นพระราชโอรสของพญาเลอไท  ทรงขึ้นครองราชสมบัติโดยการปราบดาภิเษกจากความพยายามของพระองค์ภายหลังการขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกให้เข้ามารวมกันอีกเหมือนครั้งในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงและทรงเสด็จไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่และกระทำกิจทางศาสนา  ตลอดจนสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับเมืองเชียงใหม่  โดยทรงมีพระราชานุญาตให้พระสมณะเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เชียงใหม่ ตามที่พระเจ้ากือนาแห่งเชียงใหม่ทรงขอมา
7.
พระมหาธรรมราชา
ที่ 2
ครองราชสมบัติถึงประมาณ
ปี พ.ศ. 1942
พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจาก
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ในขณะนั้นอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพระงั่ว) ได้ขยายอำนาจมายังอาณาจักรสุโขทัย โดยเริ่มตีและยึดเมืองเหนือได้หลายเมือง  แต่พระมหาธรรมราชาที่ 2 ได้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ แต่เมื่อเห็นว่าจะสู้รบต่อไปไม่ไหวจึงถวายบังคม  ขุนหลวงพระงั่ว  โปรดให้พระมหาธรรมราชาที่  2 ครองอาณาจักรสุโขทัยต่อไปในฐานะ  ประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา จนถึงปี พ.ศ. 1931 อาณาจักรสุโขทัยได้แข็งเมืองไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ. 1931  ขุนหลวงพระงั่ว จึงยกทัพไป
ตีชากังราว  แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตกลางทาง

8
พระมหาธรรมราชา
ที่ 3
(พญาไสยลือไท)
(ขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ.1931)
พระมหาธรรมราชาที่ 3 ทรงเป็นโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีฝีมือเข้มแข็ง สามารถแผ่ขยายอาณาเขต  เพื่อกู้เสถียรภาพทางการเมืองของอาณาจักรสุโขทัยให้ฟื้นตัวขึ้นมาอีก โดยยกทัพไปปราบยังเมืองต่าง ๆ ให้อยู่ในอำนาจ
9
พระมหาธรรมราชา
ที่ 4
(พระบรมปาล)
(ขึ้นครองราชสมบัติ
ในปี พ.ศ. 1962)
ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่  4  อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง พระมหาธรรมราชาที่ 4 ทรงครอง
ราชสมบัติได้ 19 ปี  ก็สวรรคตเชื้อสายพระร่วงเกิดแย่งชิงราชสมบัติกันสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งอาณาจักรอยุธยา โปรดให้พระราเมศวรพระราชโอรสขึ้นไปครองพิษณุโลก นับตั้งแต่นั้นมาสุโขทัยจึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น