รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

 เมื่อแรกมีถนนในกรุงเทพฯ

     ความจริง  เมืองไทยได้มีถนนมาช้านานแล้ว  ตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ในสมัยสุโขทัย  คือ เมื่อประมาณหกร้อยกว่าปีมานี้ ก็ได้ม่ีถนนพระร่วง  ใช้เป็นทางคมนาคม  ระหว่างกรุงสุโขทัย กับ เมืองกำแพงเพชรสายหนึ่ง และระหว่างกรุงสุโขทัย กับเมืองศรีสัชนาลัย  อีกสายหนึ่ง  ดังที่ปราฏซากเหลือให้เห็นเป็นบางตอนในปัจจุบัน

    สำหรับถนนในกรุงสุโขทัย  ก็คงจะมีหลายสายเช่นเดียวกัน และในสมัยอยุธยา ก็ได้ความว่าในกรุงศรีอยุธยา มีถนนอยู่หลายสายเหมือนกัน ดังมีหลักฐานปรากฏว่า นายแพทย์ เองเกลเบิร์ก  แคมป์เฟอร์ ชาวเยอรมัน ที่เข้ามาเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2233 ในรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา  บันทึกสภาพกรุงศรีอยุธยา  มีความตอนหนึ่งว่า 

     "...ถนนสายกลาง ซึ่งแล่นเหนือขึ้นไปยังพระราชวังนั้น มีผู้คนอยู่อย่างคับคั่งที่สุด แน่นขนัดไปด้วยร้านค้า ร้านช่างศิลปะและหัตถกรรมต่าง ๆ..."

       ส่วนในสมัยของรัตนโกสินทร์ตอนแรก ๆ  คือ ตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างพระนคร จนกระทั่งถึงรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ปรากฏว่า มีถนนในพระนครอยู่หลายสายเหมือนกัน แต่ถนนส่วนใหญ่ เป็นถนนดิน แคบและสั้น  เมื่อถึงฤดูแล้ง ก็เป็นฝุ่น  พอถึงฤดูฝน ก็เฉอะแฉะเป็นโคลนตม ถึงแม้ว่าบางถนน จะใช้อิฐเรียงตะแคง แต่ก็เอาทราย และดินถมเป็นหน้าถนน  ถนนดังกล่าว จึงมีสภาพไม่ต่างกับถนนดินเท่าใดนัก

       ครั้นถึงในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นว่า ถนนหนทางในพระนคร ชำรุดทรุดโทรมมาก พระองค์จึงได้ทรงประกาศแผ่พระราชกุศล ซ่อมแซมถนนเป็นการใหญ่ ตามหมายประกาศ   ดังนี้
ถนนบำรุงเมือง
ถนนบำรุงเมืองในอดีต
    "ด้วย เจ้าพญายมราชชาติเสนางคนรินทรมหินทราธิบดี รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สั่งว่า  บัดนี้ถนนในพระนคร ชำรุดซุดโซม  ยับย่อยไปมาก สมณชีพราหมณ์ อนาประชาราษฎร เดินไปเดินมาลำบาก จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เจ้าพญายมราชเปนแม่กอง ทำถนนที่ชำรุดลุ่มซุดไปนั้น ทำเสียใหม่ให้เปนปรกติ เปนหลายแห่ง แล้วทรงพระราชดำริห์ว่า การก่อถนนนี้ เปนสาธารณกุศล เปนประโยชน์แก่คนทั่วไป ใคร ๆ ก็จะได้เดินไปมาสบาย   สดวกกันทุก ๆ  คน ควรที่ท่านทั้งปวง จะยินดีทำด้วยกัน เพราะฉะนั้น จึงโปรดเกล้าโปรดกะรหม่อม ให้ประกาษบอกแผ่การพระราชกุศล ต่อพระบรมวงษาณุวงษ์ ข้าราชการผู้ใหญู่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ค่างน่าค่างใน ในพระบรมมหาราชวัง ที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ในจำนวนปีมเสง  นพศกนี้ ให้ได้ส่วนพระราชกุศลด้วยกัน ตามได้ตามมีตามศรัทธาอุสาห
     คือขอให้เอาอิดดีบ้าง อิดหักบ้าง มากแลน้อยตามแต่จะยินดี ช่วยมากแลน้อย ไม่ว่าไม่เกน จงมาเภิ่มในการพระราชกุศลทุก ๆ  คนเทิญ
     เมื่อจะเอาอิดดี ฤๅอิดหักมาส่งนั้น ให้มาส่งกับเจ้าพญายมราช แม่กองแต่ในเดือนอ้ายเดือนยี่ ปีมเส็ง นพสก โปรดให้จดหมายรายวัน ตามผู้ใดมีสัทธา ได้เอาอิดมาส่งมากแลน้อย ให้มหาดเล้กรายงานกราบทูลพระกรุณาทรงทราบ จะทรงอนุโมทนาด้วยท่านทุก ๆ  คน ตามรับสั่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น