รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

       แผนที่ประวัติศาสตร์ไทย
แผนที่ประวัติศาสตร์ไทย

    ประวัติศาสตร์ไทย

1.  แนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
  1.      แนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเหตุปัจจัย  ในบ้านเมือง และสถานการณ์ของโลก  ทำให้จุดมุ่งหมายของการสืบค้น และแนวความคิดที่ได้จากการสืบค้นเกี่ยวกับถิ่นกำเนิด ของชนชาติไทย  แตกต่างกันถึง  4  แนวทาง  คือ
  2.     1.  แนวคิดที่ว่า  ถิ่นกำเนิดขอชนชาติไทย อยู่ในประเทศจีน ตั้งแต่เทือกเขาอัลไต  ทางตอนเหนือ และอพยพมาสู่มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ แล้วจึงอพยพลวสู่ดินแดนในประเทศ  เรียกเส้นทางอพยพนี้ง่าย ๆ  ว่า  อัลไต - เสฉวน - ยูนนาน
     2.  แนวคิดที่ว่า ถิ่นกำเนิดขอชนชาติไทย กระจายเป็นแนวกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน  แถบมณฑลยูนนาน  กวางตุ้ง  กวางสี  รวมไปถึงตอนเหนือ ของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศเวียดนาม  ลาว  ไทย  และพม่า  ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
  3. แนวคิดที่ว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย อยู่ในดินแดนประเทศไทย เป็นการพิจารณาโดยมุมมองทางวัฒนธรรม  โดยใช้ข้อมูลแสดงให้เห็นร่องรอย ของความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม ของผู้คนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ตามที่ราบลุ่มปากแม่น้ำต่าง ๆ  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์  เช่น  โครงกระดูก  ขวานหิน  เครื่องมือสำริด  เครื่องปั้นดินเผา  ที่ยืนยันว่า  ชนชาติไทยอาศัยอยู่ในดินแดน ที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มาเป็นเวลานานกว่า 4,000  ปี มาแล้ว
  4. แนวคิดที่ว่า  ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย อาจกระจายอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย  ในอินโดจีน  ในบริเวณคาบมลายู และหมู่เกาะ  เป็นการสืบค้นโดยใช้หลักฐานด้านพันธุศาสตร์ โดยคณะนักวิชาการสายการแพทย์แขนงต่าง ๆ  ร่วมกับสายสังคมศาสตร์ ได้พยายามค้นหาดัชนี ความเป็นไทย โดยอาศัยหลักฐานจากหมู่เลือด 5 หมู่ รูปร่างของฟันหน้า  ขนาดของฟันหลัง (กราม)  ความลึก  ความกว้าง และความโค้งของขากรรไกร  ตลอดจนโครงสร้าง ของดีเอ็นเอ ของกลุ่มคน  5  กลุ่ม  คือ  ผู้ไท  ไทดำ  มลายู  เขมร  และจีน  พบว่า  ไทดำ และผู้ไทมีลักษณะหมู่เลือด  ลักษณะฟันและขากรรไกร ใกล้เคียงกับจีน และชาวมลายู มีลักษณะเหล่านี้ ใกล้เคียงกับเขมร
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น