รายวิชา ประวัติศาศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อาณาจักรโบราณในดินแดนภาคกลางของไทย

อาณาจักรโบราณในดินแดนภาคกลางของไทย
อาณาจักรทวารวดี 
อาณาจักรทวารดีเป็นอาณาจักรที่สำคัญอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีความเจริญครอบคลุมไปยังดินแดนภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน ตลอดจนถึงหัวเมืองมอญริมฝั่งทะเลอันดามัน โดยนักประวัติศาสตร์มีความเห็นเกี่ยวกับศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีที่มีความแตกต่างกันแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เชื่อว่าอาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางที่เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
กลุ่มที่ 2 เชื่อว่าอาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
กลุ่มที่ 3 เชื่อว่าอาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
จากข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันออกไป เนื่องจากบริเวณ     ทั้ง  3 แห่ง พบร่องรอยเมืองโบราณ โบราณสถาน ศิลปวัตถุ สมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูป ลูกปัด เหรียญเงิน กงล้อรูปธรรมจักรกับกวางหมอบ ธรรมจักรศิลา ลายปูนปั้นนูนสตรีเล่นดนตรี 
กลุ่มเมืองสำคัญเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนเขตชายฝั่งทะเลที่มีการติดต่อค้าขายทางทะเลกับอินเดีย จีน อาหรับ และเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูก จึงดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนภายนอก ตอนบนเคลื่อนย้ายลงมาตั้งหลักแหล่ง เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดเมืองใหญ่ๆ ขึ้นหลายเมือง นอกจากนั้นชุมชนแถบนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และแบบแผนการปกครอง โดยนำมาปรับให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง อิทธิพล    ที่อินเดียส่งต่อมายังอาณาจักรทวารวดี ได้แก่
1. พระพุทธศาสนา ซึ่งมีบทบาทเชื่อมโยงความแตกต่างทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชน ในดินแดนนี้ ให้ยึดถือในความเชื่อเดียวกัน
2. กำหนดแบบแผนของกษัตริย์ที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา
3. มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม ได้แก่ ชนชั้นปกครอง และชนชั้นใต้ปกครอง โดยพระสงฆ์เป็นผู้ปลูกฝังความเชื่อให้แก่ประชาชนใช้ภาษาบาลีประกาศคำสอนจากพระไตรปิฎก และใช้ภาษาสันสกฤต ในคำประกอบพิธีกรรม
การนับถือศาสนา 
                ประชาชนของอาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่ให้การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ศิลปะสมัยทวารดี 
                ศิลปะสมัยทวารวดีพบอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี ขึ้นไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ค้นพบใบเสมา ศิลาสลักเป็นพระพุทธรูป พุทธประวัติ และชาดกต่าง ๆ
ใบเสมาที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง จ
ใบเสมาสลักเรื่องพุทธประวัติที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์ 
ที่มาภาพ  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ .หน้า 32.
กระปุกเหรียญสมัยทวารวดีและตัวอย่างของเหรียญ ซึ่งพบที่คอกช้างดิน เมืองเก่าอู่ทองแสดงถึงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเสาหินแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นของศิลปกรรมสมัยทวารวดี
Text Box: กระปุกเหรียญสมัยทวารวดีและตัวอย่าง               ของเหรียญ ซึ่งพบที่คอกช้างดิน เมืองเก่าอู่ทองแสดงถึงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ  ที่มาภาพ  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์        กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (หน้า 54)    Text Box: เสาหินแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นของศิลปกรรมสมัยทวารวดี  ที่มาภาพ  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์        กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (หน้า 53)
ผลงานด้านศิลปะสมัยทวารวดี เกิดจากการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยรับแบบพุทธศิลป์ของอินเดียมาผสมผสานกับคติความเชื่อในท้องถิ่นแล้วได้พัฒนามาเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เป็นศิลปะสมัยทวารดีที่โดดเด่น และยังคงเหลือให้เห็น
มีหลายด้าน ดังนี้
ด้านสถาปัตยกรรม 
ผลงานด้านสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีมักใช้การก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นประกอบ               ไม่นิยมก่ออิฐด้วยศิลาแลง รูปสัณฐานของเจดีย์ ฐานทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม องค์สถูปทำเป็นรูประฆังคว่ำและมียอดเตี้ย เช่น พระปฐมเจดีย์องค์เดิม หรือเจดีย์วัดจุลปะโทน  จังหวัดนครปฐมและ              บางแบบทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น  แต่ละชั้นเจาะเป็นซุ้มสำหรับไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป  เช่น  เจดีย์วัดกู่กุด จังหวัดลำพูน


http://www.baichaploo.com/dairy/prapathom.jpg
พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม 
ที่มาภาพ   http://www.baichaploo.com/dairy/prapathom.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi4MugV7SzRqut2L-E0wo1GaGlQDlYCJorapk-H7HlSJg93pVbvZuEO6l5OyTvixGF066jo3BA5GqauY7kKbF600M_uHai2OGR-PHLUaJlqGbfwQ3tx4FoU9MrU_oPaI4qQoJ4-E_r-pCpO/s400/13.bmp
เจดีย์วัดกุดกู่ 
ที่มาภาพ   https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi4MugV7SzRqut2L-E0wo1GaGlQDlYCJorapk-H7HlSJg93pVbvZuEO6l5OyTvixGF066jo3BA5GqauY7kKbF600M_uHai2OGR-PHLUaJlqGbfwQ3tx4FoU9MrU_oPaI4qQoJ4-E_r-pCpO/s400/13.bmp
ด้านประติมากรรม 
ผลงานด้านประติมากรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปทำด้วยศิลา
ลักษณะพระพักตร์มีขมวดพระเกศาใหญ่บางครั้งมีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมอยู่เหนือพระเกตุมาลา  พระพักตร์แบน  พระขนงสลักเป็นเส้นนูนโค้งติดต่อเป็นรูปปีกกา  พระเนตรโปน  พระนาสิกแบน  พระโอษฐ์หนา จีวรบางติดกับพระองค์  พระบาทใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาประทับนั่งห้อยพระบาท  เช่น  พระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดหน้าพระเมรุ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และที่ถ้ำฤๅษีเขางู  จังหวัดราชบุรี   นอกจากนั้นยังมีศิลาสลักรูปกงล้อ                   พระธรรมจักรกับกวางหมอบ รูปเหล่านี้หมายถึง   พระพุทธองค์ปางประทานปฐมเทศนา                    ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี และพบประติมากรรมดินเผาและรูปปั้นหลายชิ้นที่มีความงดงาม เช่น ภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี
58t3http://nutcoco.exteen.comimages/image5.jpg
 
236AC804
พระพุทธรูปศิลาขาว ประทับนั่งห้อยพระบาทศิลปะทราวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16
บางแสดงเทศนา แสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ที่มาภาพ  ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ กรมวิชาการ. หน้า 138.
อาณาจักรละโว้ 
เมืองละโว้ เมื่อแรกก่อตั้งนั้น ปรากฏข้อความในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระพุทธศักราช 1002 ปี จุลศักราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราชบุตรของพระยากากะพัตรได้เสวยราชสมบัติ เมืองตักกะศิลามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ 
จากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารเหนือ พอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1002 แล้ว และจากการขุดค้นทางโบราณคดี ปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาล ถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้ว จากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็กๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศ ราวพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้ว และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมาก โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา 
อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบน ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน ศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ.1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นนั้นให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/61.2.jpg               
พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี 
แสดงให้เห็นอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา
ที่มาภาพ   http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/61.2.jpg
                        หลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายัง
บริเวณนี้  ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลง อิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์                         จังหวัดกาญจนบุรี  และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลาง จึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่                                     พระปรางค์สามยอด  และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี
http://2.bp.blogspot.com/_22ZmxOFy6cc/Se161kCEHxI/AAAAAAAAAIY/JC6M1ZkBB9w/s320/552000001584504.jpg
เทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรีที่มาภาพ  http://2.bp.blogspot.com/_22ZmxOFy6cc/Se161kCEHxI/AAAAAAAAAIY /JC6M1ZkBB9w/s320/
552000001584504.jpg
อาณาจักรอโยธยา
                หลักฐานพงศาวดารเหนือกล่าว อาณาจักรอโยธยาได้พัฒนาขึ้นมาจากศูนย์กลาง    การปกครองเดิม ได้แก่  เมืองละโว้ เมืองอโยธยา ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเบี้ยทางฝั่งตะวันออกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองละโว้มายังเมือง           อโยธยา นั้นเป็นช่วงเวลาที่มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางทะเลโดยเฉพาะจีน  เพราะอาณาจักร
อโยธยาอยู่ใกล้ทะเลกว่าละโว้และอยู่ในบริเวณชุมทางของแม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นชุมทางสินค้าที่สำคัญทั้งจากดินแดนภายในและดินแดนภายนอก
อาณาจักรอโยธยามีความเจริญรุ่งเรืองจากการค้าขาย เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนที่มีทางออกสู่ทะเลได้สะดวกประกอบกับมีชนหลายกลุ่ม หลายเผ่าพันธุ์ จากถิ่นต่างๆ และมีกษัตริย์จากหลายราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันปกครอง วัฒนธรรมหลายอย่างได้รับการสืบทอดมาจากเมืองละโว้  ประชาชนของอาณาจักรอโยธยา ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาท และมหายาน
(อาจริยวาท)
อาณาจักรอโยธยามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางการเมือง และทางเครือญาติกับเมืองละโว้ และเมืองสุพรรณภูมิ ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนแถบนี้มีจึงกำลังไพร่พลมากขึ้น สามารถรวมตัวกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ.1873
 อาณาจักรสุพรรณภูมิ 
                อาณาจักรสุพรรณภูมิ คือ ดินแดนฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีเมืองนครชัยศรี                     เป็นศูนย์กลางในสมัยทวารวดี ต่อมาเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองนครชัยศรีมาตั้งอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรี เนื่องจาก             เมืองสุพรรณภูมิมีสภาพที่เหมาะสมกว่า
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj-WtOm3UMpWLKCB_Zqyw8Rxtu96C1_vsM5iesudEI6wmNmSpgA8li7rxcVwrJCU1dpx2q2bCnY5sY-x60e3ZjF9hyphenhyphenZ7QUPMheQk_uejq6eDc7NKZSJZP9bZpxx4b8_ZDp51ccBZwX2Rgc/s400/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C5.jpg 
ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี 
ศิลปะการก่อสร้างสมัยลพบุรี อิทธิพลพระพุทธศาสนา 
นิกายมหายานในอาณาจักรสุพรรณภูมิ 
ที่มาภาพ   http://1.bp.blogspot.com/_4-0yhgtyycg/StfNqG8rINI/AAAAAAAABeo/6GwjDxmkACc/
s400/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%
AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C5.jpg
พัฒนาการของการย้ายศูนย์กลางจากเมืองนครชัยศรีมาอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิ เพราะลำน้ำที่เป็นเส้นทางคมนาคมของเมืองนครชัยศรีตื้นเขิน ทำให้เรือสินค้าเข้าถึงได้ยาก  ส่วนเมืองสุพรรณภูมิตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่สามารถติดต่อกับอ่าวไทยได้สะดวก เอกสารจีนเรียกดินแดนของอาณาจักรสุพรรณภูมิว่า “เจนลีฟู” สุพรรณภูมิเป็นชุมชนที่เจริญเติบโตจากการค้าขายกับชาวจีน โดยพ่อค้าชาวจีนมาตั้งหลักแหล่งที่ไทย ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรสุพรรณภูมิ
มีความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจอย่างมาก บรรดาเมืองสำคัญของอาณาจักรสุพรรณภูมิ เช่น ราชบุรี เพชรบุรี มีแม่น้ำไหลผ่านเมืองสามารถใช้เป็นเส้นทางติดต่อกับดินแดนภายในและติดต่อทางทะเลได้สะดวก โดยเฉพาะเมืองเพชรบุรี เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สามารถคุมเส้นทางติดต่อกับอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)
อาณาจักรสุพรรณภูมิเติบโตระยะเวลาใกล้เคียงกับอาณาจักรอโยธยามีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับอาณาจักรอโยธยา ประชาชนในอาณาจักรสุพรรณภูมิให้การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นหลัก แต่จากการที่สุพรรณภูมิมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกษัตริย์ขอมสันนิษฐานได้ว่า อาณาจักรสุพรรณภูมิมีที่ตั้งอยู่                คนละฟากแม่น้ำกับเมืองละโว้ อาจรับอิทธิพลทางศิลปกรรมและพระพุทธศาสนานิกายมหายานไว้ด้วย โดยสังเกตได้ว่าอิทธิพลของนิกายมหายานได้ปรากฏในหลายท้องถิ่นของอาณาจักรสุพรรณภูมิ เช่น การสร้างปราสาทเมืองสิงห์ที่จังหวัดกาญจนบุรีและการสร้างพระปรางค์ศิลปะสมัยลพบุรี  ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี
s0001 
วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี 
ที่มาภาพ   http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/942/37942images/s0001.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น